วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำถามกฎหมาย

กฎหมาย
ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน1. กฎหมาย คืออะไร?ตอบ    หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?ตอบ   1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ           2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์            3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป           4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม           5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?ตอบ   1. ทำให้คนในสังคมมีระเบียบวินัย          2  สร้างความสงบในสังคม          3. ทำให้มีความยุติธรรมในสังคม4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?ตอบ    1. เป็นลายลักษณ์อักษร            2. ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?ตอบ 
  1. รัฐธรรมนูญ
  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  1. พระราชบัญญัติ
  1. พระราชกำหนด
  1. พระราชกฤษฎีกา
  1. กฎกระทรวง
  1. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?ตอบ   เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?ตอบ   เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาลและศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?ตอบ 
  • ระบบกฎหมายโรมาโน – เยอรมันนิค (Romano Germanic Law)
  • ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
  • ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)
  • ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law)  
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?ตอบ  ใช้ระบบ "กล่าวหา" (accusatorial system) เป็นหลัก10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?ตอบ        1. ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐ         โดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากร             2. ดินแดน (Territory)             3. รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ             4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ และมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการ

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 

 

 
 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012  เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย





การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2012
Flag of the United States
 
ค.ศ. 2008 ←6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012→ ค.ศ. 2016
 
 
 
ElectoralCollege2012.svg
 
 
                             ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
                              สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
                        สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่รอมนีย์/ไรอันชนะ
         ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขต


เลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ว่าใครเป็นผู้นำ พญาอินทรีย์ตัวนี้ก็ยังคงมีท่าบินเหมือนเดิม..ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ สรุปแล้วว่าบารัค โอบามาจะยังคงครองตำแหน่งผู้นำประเทศได้อีกเป็นสมัยที่ 2 แต่การชิงชัยเก้าอี้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนครั้งแรกนัก เพราะคะแนนโหวตที่ให้กับมิตต์ รอมนีย์หลั่งไหลเข้ามาอย่างท่วมท้น เล่นเอาทั้งผู้นำเดโมแครตและแฟนคลับโอบามาต้องลุ้นคะแนนโหวตแบบหืดขึ้นคอ ขณะที่มิตต์ รอมนีย์เอง ดูฟอร์มแล้วไม่น่าจะมาไกลถึงขนาดที่มีคะแนนสูสีขนาดนี้ แต่วันนี้ เราต้องยอมรับว่า เขาทำได้แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะนโยบายเศรษฐกิจที่มีความเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ชาวอเมริกันมากกว่า!








เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ภาพจาก Barack Obama
เป็นไปได้ว่าคะแนนที่หดหายของโอบามาในสมัยแรก และการเบียดขับ เข่นเคี่ยวกันจนคะแนนโหวตของรอมนีย์ที่ขึ้นมาได้ขนาดนี้ สืบเนื่องจากการจ่อมจมอยู่กับปัญหาการเมืองระหว่างประเทศและปัญหาความมั่นคงที่รุกไล่ทีมของผู้นำบารัค โอบามาเสมือนหนึ่งเล่นเกมงูกินหาง ไหนจะต้องตามล่าสังหารอุซมาห์ บินลาเดน ตัวการสำคัญที่เป็นผู้ท้าทายอำนาจสหรัฐฯ ตัวฉกาจ และเป็นสิ่งที่เขาให้คำมั่นไว้ในสมัยแรก
ตลอดจนการไล่ต้อนกลุ่มผู้นำในประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนืออย่างไม่หยุดยั้ง เพราะกระแสอาหรับสปริงที่ทำให้เขาเชื่อว่ามวลชนในโลกอาหรับต้อนรับกระแสประชาธิปไตยอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ไหนเลยประเทศต้นแบบแห่งประชาธิปไตยจะอยู่เฉย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ผู้เป็นเสมือนตำรวจโลกมาเนิ่นนาน จะปล่อยผ่านเรื่องนี้ไม่ได้
อีกด้านหนึ่ง คือการรับมือกับจีน สหรัฐฯ จะยังคงเดินเกมปิดล้อมจีนต่อไป โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ที่แม้รอมนีย์จะประกาศกร้าวเสมือนว่าจีนเป็นศัตรู แต่โอบามาเห็นว่าจีนคือคู่แข่ง และเป็นคู่แข่งที่สำคัญจนต้องใช้การทูตผูกมิตรชาติในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผูกสัมพันธ์กับประเทศที่เห็นจีนเป็นศัตรู และการแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือชาติในเอเชียที่มีความขัดแย้งระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยกับท่าทีของญี่ปุ่น กรณีความขัดแย้งหมู่เกาะเตี้ยวหยูวหรือหมู่เกาะเซนกากุ หรือกรณีหมู่เกาะทาเคชิม่าหรือหมู่เกาะต็อกโตที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้บาดหมางกัน
รวมถึงอีกกรณีที่มีนัยสำคัญต่อจุดยืนและท่าทีของอาเซียน คงเป็นประเด็นใดไม่ได้ถ้าไม่ใช่กรณีของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ที่สหรัฐฯ โดดเข้ามาสนับสนุนทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ฯลฯ อย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะด้วยการกล่าวถ้อยแถลงที่สนับสนุนการทูตพหุภาคีในอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหา หรือการแสดงท่าทีแข็งขืน ไม่เห็นด้วยกับจีนที่จะดีลปัญหาด้วยการทูตทวิภาคีแบบรัฐต่อรัฐ



ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อปัจจจัยภายนอกประเทศ แต่ช่วยรักษาภาพลักษณ์อันทรงอำนาจของสหรัฐอเมริกาที่ยากจะมีใครลูบคม แต่ปัจจัยภายในที่โอบามาเฝ้าจ่อมจมอยู่กับการแก้ไขปัญหา คงหนีไม่พ้นเรื่องประกันสุขภาพและการรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่เป็นฐานเสียงหลัก มากกว่าจะมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
การพยายามแก้ปัญหาด้านนี้อย่างเห็นได้ชัดจากโอบามาฯ น่าจะเป็นเรื่องผูกมิตรกับต่างประเทศและกดดันให้ซื้อสินค้าส่งออกจากสหรัฐฯ ตลอดจนการดำเนินนโยบายอุ้มกลุ่มทุน อุตสาหกรรมรถยนต์ ธนาคาร เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐให้ดำเนินต่อไป แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดปรากฎการณ์ยึดครองวอลล์สตรีท หรือ Occupy Wall Street ด้วย และแน่นอนว่าโวหารของเขายังคงครองใจประชาชนเช่นเดิม แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมา ทำให้เห็นว่าเขายังพูดมากกว่าทำในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ติดหล่มปลักของสหรัฐฯ กำลังค่อยๆ เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างช้าๆ โดยภาพรวมของประเทศเอง ที่ค่อยๆ เป็นไป มากกว่าจะขับเคลื่อนหรือแก้ปัญหาได้ด้วยผู้นำประเทศ แน่นอนว่า หากสมัยหน้าเขาจะยังต้องการให้เก้าอี้ผู้นำประเทศเป็นของเดโมแครตอยู่ ทีมรัฐบาลจะต้องทุ่มเททุกสรรพกำลังเพื่อเร่งฟื้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่มากกว่าการหมกมุ่นกับการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงอย่างที่เคยเป็นมา

Advertisement
Advertisement